วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


เครื่อง 3D Printer คืออะไร?

3D Printer หรือ Rapid Prototype (RP) หรือ ที่คนไทยเรียกเครื่องพิมพ์ 3มิติ เครื่องปรินท์ 3มิติ นั้นมีใช้กันมาเกือบ 30 ปีแล้ว แต่ใช้กันในวงจำกัด ในบริษัทขนาดใหญ่ หรือ ใน Lab ใหญ่ๆเท่านั้น เพิ่งจะได้รับความนิยมในผู้ใช้จำนวนมาก และมีราคาลดลง เมื่อประมาณปี 2009 นี่เอง2D Printer VS 3D Printer
3D Printer นั้นสามารถสร้างชิ้นงานที่เป็นวัตถุจับต้องได้(3มิติ) มีความกว้าง-ลึก-สูง ไม่เหมือนเครื่อง Printer แบบ 2D ที่เราใช้โดยทั่วไปที่พิมพ์หมึกสีลงบนกระดาษ เช่นหากเราพิมพ์ลูกบอลลงบนการกระดาษ(2D) เราจะได้กระดาษที่มีรูปลูกบอลอยู่ แต่หากเราพิมพ์จาก 3D Printer เราจะได้ลูกบอลทรงกลมมากลิ้งบนพื้นได้ 2D Print VS 3D Print1

หลักการทำงาน

3D Printer เกือบทุกเครื่องนั้นใช้หลักการเดียวกัน คือพิมพ์ 2มิติแต่ชั้นในแนวระนาบกับพื้นโลก XY ก่อน ส่วนที่พิมพ์ก็คือภาพตัดขวาง-Cross Section ของวัตถุนั้นๆเอง พอพิมพ์เสร็จในสองมิติแล้วเครื่องจะเลื่อนฐานพิมพ์ไปพิมพ์ชั้นถัดไป พิมพ์ไปเรื่อยๆหลายร้อย หลายพันชั้น จนออกมาเป็นรูปร่าง 3 มิติ  การเลื่อนขึ้นหรือลง(เลื่อนในแนวแกน Z)ของฐานพิมพ์ นี่เองทำให้เกิดมิติที่ 3
หมึกที่ใช้ของ 3D Printer แตกต่างกันออก บางชนิดพิมพ์โดยฉีดเส้นพลาสติกออกมาก บางชนิดพ่นน้ำเรซิ่นออกมา แล้วฐานแสงให้เรซิ่นแข็งในแต่ละชั้น บางชนิดฉีดซีเมนต์-3D Printer สร้างบ้าน, น้ำตาล-3D Printer ทำขนม, หรือแม้กระทั่งสเต็มเซลล์-3D Printer กับการพิมพ์อวัยวะ ก็มี
โดยปรกตินั้นเราจะวัดความละเอียดในการพิมพ์ของเครื่อง 3D Printer ในหน่วนไมครอน เช่น 100-Micron(0.1mm) ต่อชั้น หมายความว่าในแต่ละชั้นนั้นเครื่องจะพิมพ์ให้มีความสูง 0.1mm ดังนั้นหากโมเดลมีความสูง 10mm เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ทั้งหมด 100 ชั้น หากพิมพ์ที่ความละเอียด 50-Micron เครื่องจะพิมพ์ทั้งหมด 200 ชั้น ซึ่งแน่นอนที่ความละเอียด 50-Micron นั้นได้งานละเอียดกว่าและสวยกว่าแน่นอน แต่ใช้เวลาเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัว
ไฟล์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ 3มิติ นั้นเป็นไฟล์ 3มิติ แทนที่จะเป็นรูปภาพเหมือนในเครื่องพิมพ์บนกระดาษทั่วไป 3D File นี้อาจสร้างจากโปรแกรม เช่น AutoCAD, SolidWork, 3Ds Max, Zbrush, Maya, SketchUp หรือ แม้กระทั่ง PhotoShop รุ่นใหม่ก็มีส่วนที่ Support 3D Printer แล้ว
ไฟล์ 3D สามารถโหลดฟรีได้ที่นี่3D File VS 3D Print

3D Printer มีกี่ประเภทอะไรบ้าง?

ทางผู้เขียนขอแบ่งประเภทของเครื่องพิมพ์ด้วยกระบวนการพิมพ์และวัสดุที่ใช้ดังนี้

1. ระบบฉีดเส้นพลาสติก (FDM หรือ FFF)

อ่านระบบ FDM/FFF อย่างละเอียด ได้ที่นี่
FDM หรือ Fused Deposition Modeling หรือ บางสำนักเรียกเครื่องระบบนี้ว่า FFF เป็นเครื่องพิมพ์ 3มิติ ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน มีหลักการทำงานคือ การหลอมเส้นพลาสติกให้กลายเป็นของเหลวแล้วฉีดออกมาเป็นเส้นผ่านหัวฉีด (Nozzle) หากเปรียบเทียบคงเปรียบเทียบได้กันปืนกาวที่ใช้กันทั่วไป เครื่อง FDM 3D Printer จะวาดเส้นพลาสติกที่ถูกฉีดออกมา เป็นรูปร่างในแนบแกนระนาบ เมื่อเสร็จชั้นหนึ่งๆก็จะพิมพ์ในชั้นต่อๆไป เมื่อครบหลายร้อย หรือ หลายพันเลเยอร์ ก็จะได้ออกมาเป็นวัตถุที่เราสั่งพิมพ์FDM Printer
ระบบ เป็นระบบที่นิยมที่สุด และถูกที่สุด ใช้ได้กับงานทุกประเภท ชิ้นงานที่พิมพ์สามารถขัด/แต่ง/เจาะ ได้ สามารถใช้เป็นชิ้นส่วนในเครื่องจักรได้ นำมาใช้ได้จริง อีกทั้งเครื่องยังสามารถใช้วัสดุได้หลากหลาย และหาได้ง่ายตามท้องตลาด เช่น เส้น PLA, ABS, PET, Nylon, Wood(พลาสติกผสมไม้), Bronze(พลาสติกผสมทองเหลือง) เป็นต้น แต่ข้อเสียคือ ผิวงานที่พิมพ์ออกมาเป็นรองระบบอื่นๆ

2. ระบบถาดเรซิ่น (SLA หรือ DLP)

SLA/DLP อย่างละเอียด ได้ที่นี่
SLA หรือระบบ DLP นั้นมีหลักการทำงานเหมือนกัน กล่าวคือ เครื่องระบบนี้จะฉายแสงไปตัวถาดที่ใส่เรซิ่นความไวแสงไว้(Photo Resin/Photopolymer) เมื่อเรซิ่นถูกแสงจะแข็งตัวเฉพาะจุดที่โดนแสง จึงใช้หลักการแข็งตัวของเรซิ่นนี้ในการทำชิ้นงานให้เกิดรูปร่างขึ้นมา เมื่อทำให้เกิดรูปร่างขึ้นในชั้นหนึ่งๆแล้วเครื่องก็จะเริ่มทำให้แข็งเป็นรูปร่างในชั้นต่อๆไป จนเกินเป็นชิ้นงานวัตถุที่จับต้องได้DLP_SLA Printer
ระบบ SLA(Stereolithography)และ DLP(Digital Light Processing) ต่างกันที่ต้นกำเนิดของแสง ระบบ SLA มีแหล่งกำเนิดเส้นเป็นเลเซอร์ ดังนั้นจะยิงแสงเลเซอร์ที่ว่านี้ไปที่เรซิ่นโดยวาดเส้นเลเซอร์ไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการพิมพ์ชิ้นงานใหญ่หน่อยก็จะใช้เวลาวาดนานกว่าชิ้นงานเล็ก ส่วน DLP นั้นใช้โปรเจกเตอร์ DLP Project ฉายภาพ ภาพที่ฉายนั้นจะครอบคลุมทั้งเลเยอร์เลย จุดนี้เองทำงานให้แตกต่าง DLP ใช้เวลาในการพิมพ์น้อยกว่า แล้วไม่ขึ้นกับจำนวนชิ้นงานบนฐานพิมพ์ เนื่องจากไม่ต้องลากที่ละเส้น
การพิมพ์ระบบถาดเรซิ่นนี้ เหมาะกับงานชิ้นเล็กๆที่ต้องการความละเอียดสูง เครื่องโดยทั่วไปจะพิมพ์ชิ้นงานได้ชิ้นไม่ใหญ่มาก จึงเหมาะกับธุระกิจ เครื่องประดับ Jewelry, งานหล่อ, ชิ้นส่วนเล็กในงานอุตสาหกรรม, ออกแบบผลิตภัณฑ์, งานโมเดลฟีกเกอร์ หรือแม้กระทั่งงานพระเครื่อง

3. ระบบผงยิปซั่ม+สี Ink Jet (Powder 3D Printer หรือ ColorJet Printing)

Powder 3D Printer หรือ บางคนติดปากว่าเครื่องพิมพ์ระบบแป้ง เป็นระบบใช้ผงยิปซั่ม/ผงพลาสติก เป็นตัวกลางในการขึ้นชิ้นงาน โดยเครื่องจะทำงานคล้ายระบบ Inkjet แต่แทนที่จะพิมพ์ไปบนกระดาษ เครื่องจะพิมพ์ลงไปบนผงยิปซั่ม โดยจะพิมพ์สีลงไปเหมือนกัน ต่างกันที่ระบบจะฉีด Blinder หรือ กาว ลงไปด้วยในการผสานผงเข้าด้วยกันเป็นรูปร่าง เมื่อสร้างเสร็จในชั้นหนึ่ง เครื่องจะเกลี่ยผงยิปซั่มมาทับเป็นชั้นบางๆในชั้นต่อไป เพื่อเตรียมพร้อมให้เครื่องพิมพ์สีและ Blinder อีกครั้งPowder Printer
เครื่องระบบนี้มีจุดเด่นมากคือ สามารถพิมพ์สีได้สมจริงเครื่องพิมพ์ Inkjet โดยทั่วไป จึงเหมาะในกับงานศิลปะ โมเดลคนเหมือนจริง หุ่นจำลอง หรือ ชิ้นงานที่ต้องการเห็นสีสมจริง ข้อเสียคือ งานที่ได้มีความเปราะเหมาะปูนพลาสเตอร์ คือหล่นแล้วแตก ข้อเสียอีกข้อนึ่งคือ คนข้างสกปรกเนื่องจากเป็นผง ทำให้ฝุ่นผงเยอะ ยากในการทำความสะอาด

4. ระบบหลอมผงพลาสติก, ผงโลหะ, เซรามิก (SLS)

ระบบ SLS หรือ Selective laser sintering เป็นระบบที่มีหลักการทำงานคล้ายระบบ SLA ต่างกันตรงที่แทนที่ว่าจะทำให้เรซิ่นแข็งตัวโดยการฉายเลเซอร์ SLS จะยิงเลเซอร์ไปโดยตรงบนผงวัสดุ ความร้อนจากเลเซอร์นั้นเองทำให้ผงวัสดุหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
กระบวนการเริ่มจากถาดที่ใส่ผงวัสดุ เช่นผงทองเหลือง เครื่องจะเริ่มยิงเลเซอร์ความเข้มข้นสูงไปยังผงทองเหลืองในถาด เมื่อยิงไปยังตำแหน่งใดผงทองเหลืองจะหลวมรวมเป็นรูปร่างที่ตำแหน่งนั้นๆ พอพิมพ์เสร็จในเลเยอร์หนึ่งๆแล้ว เครื่องจะเกลี่ยผงทองเหลืองบางๆมาทับในชั้นต่อไป เพื่อเริ่มกระบวนการยิงเลเซอร์เพื่อหลอมละลายใหม่ ทำไปซ้ำไปเรื่อยๆหลายร้อย หลายพันชั้นจนเกิดมาเป็นวัตถุที่ต้องการSLS Printer
ระบบนี้มีข้อดีอย่างมากคือได้งานออกมาเป็นโลหะ หรือ พลาสติกพิเศษ โดยใช้ผงของวัสดุนั้นไปเลย แต่ข้อเสียสำคัญคือ เครื่องมีราคาสูง หากเทียบกับระบบอื่น

5. ระบบอื่นๆ

นอกจากระบบต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีระบบอีกหลากหลายและเพิ่มขึ้นเรื่อย ข้างล่างจะเป็นระบบที่น่าสนใจอีกเช่นกัน
  • ระบบ Poly Jet ระบบ PolyJet

    นั้นใช้หลักการเดียวกับ เครื่องพิมพ์แบบ Inkjet แทนที่จะพ่นแม่สีออกมาบนกระดาษ เครื่องแบบ PolyJet จะมีหัวฉีด Jet พ่นเรซิ่นออกมาแล้วฉายให้แข็งโดยแสง UV อีกรอบ ทำไปที่ละชั้นเรื่อยจนออกมารูปร่างชิ้นงาน 3 มิติ เครื่องระบบนี้จะมีความแม่นยำสูง แต่มีราคาค่อนข้างแพง
  • ระบบกระดาษ

    ระบบ กระดาษ ระบบนี้จะพิมพ์สีลงบนกระดาษ และมีไดคัทตัดกระดาษไปในตัว ระบบนี้นี้คล้ายระบบ Powder 3D Printer ต่างกันตรงที่แทนที่วัสดุจะเป็นผงยิปซัม วัสดุจะเป็นกระดาษแทน


3D Printing คือ            การพิมพ์ภาพ 3D เป็นกระบวนการพิมพ์ภาพ 3D ให้มีรูปร่างเหมือนของจริงจากรูปแบบดิจิตอลการพิมพ์ภาพ 3D คือความสำเร็จในกระบวนการเติมแต่ง วัสดุที่วางของแต่ละชั้นจะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน การพิมพ์ภาพ 3D เป็นการพิจารณาความแตกต่างจากเทคนิคของเครื่องจักรเดิม ซึ่งส่วนใหญ่การกำจัดวัสดุจะใช้วิธีการเช่น การตัดหรือการเจาะ(กระบวนการลด) เครื่องพิมพ์ที่ดำเนินการพิมพ์ภาพ 3D จะใช้กระบวนการเทคโนโลยีดิจิตอล ตั้งแต่ทศวรรษ 21 ที่มีการเจริญเติบโตในการขายเครื่องจักรเหล่านี้และราคาได้ปรับลดลงอย่างมาก เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับสร้างต้นแบบและผลิตเครื่องประดับ,รองเท้า, ออกแบบอุตสาหกรรม, สถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง,อุตสาหกรรมยานยนต์,การบินและอวกาศ,ทันตกรรมและการแพทย์,การศึกษาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์,วิศวกรรมโยธาและสาขาอื่นๆ 

เครื่องพิมพ์ 3D เครื่องแรกถูกสร้างขึ้นในปี 1984 โดย 3D Systems Corp โดย Chuck Hull เป็นนักประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ 3D ที่ทันสมัยและเป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีมาตรฐาน de facto ครั้งแรกที่บัญชีถูกตีพิมพ์จากการพิมพ์ในรูปแบบของแข็งถูกสร้างขึ้นในปี 1981 โดย Hideo Kodama จากสถาบันวิจัยนาโกยา เทคโนโลยีที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งแรกที่ตีพิมพ์บัญชีในระยะยาวการผลิตสารเติมแต่งหมายถึงเทคโนโลยีที่สร้างวัตถุผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนตามลำดับชั้น วัตถุที่มีการผลิตสารเติมแต่งสามารถใช้งานได้ที่ใดก็ได้ตลอดชีวิตของผลิตภัณฑ์ จากการผลิตก่อน เช่นการสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว การผลิตเต็มรูปแบบ นอกเหนือการใช้งานของเครื่องมือและการปรับแต่งหลังการผลิต ในการผลิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรกล วิธีการลดการสร้างโดยเป็นวิธีการดั้งเดิม การลดระยะการผลิต การพัฒนาในปีที่ผ่านมาจะแตกต่างจากเทคนิคการผลิตใหม่ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าการผลิตได้รวมวิธีการที่เป็นพื้นฐานเพิ่มมาหลายศตวรรษ เช่น การรวมจาน,แผ่น, การตีขึ้นรูปและการกลึง การเชื่อม ไม่ได้รวมองค์ประกอบของเทคโนโลยีแบบจำลอง เครื่องจักร(การสร้างรูปแบบที่แน่นอนด้วยความแม่นยำสูง) จะได้รับการลดจากการเก็บและเปลี่ยนเป็นการโม่และบด


หลักการทั่วไป
การผลิตสารเติมแต่งที่ใช้พิมพ์ภาพเสมือนจากการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ หรือซอฟแวร์การสร้างแบบจำลองการเคลื่อนไหวเป็นเครื่องดิจิตอลตัดตามขวางเพื่อความต่อเนื่องสำหรับการพิมพ์ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องที่ใช้ วัสดุที่รวมกันวางบนแพลตฟอร์มที่เป็นชั้นจนเสร็จสมบูรณ์สุดท้ายเป็นรูปแบบ 3D ที่ได้รับการพิมพ์ เป็นกระบวนการแบบ WYSIWYG ที่เป็นรูปแบบเสมือนและรูปแบบจำลองทางกายภาพเกือบจะเหมือนกัน มาตรฐานการติดต่อระหว่างซอฟแวร์ CAD และเครื่องจักรที่เป็นรูปแบบไฟล์ STL ไฟล์ STL ใกล้เคียงกับส่วนหนึ่งของรูปแบบหรือการใช้มุมสามเหลี่ยมประกอบ มุมที่มีขนาดเล็กจะสร้างพื้นผิวที่มีคุณภาพสูง ใช้รูปแบบไฟล์ที่สร้างขึ้นเข้าเครื่องสแกนและไฟล์ VRML หรือWRL จะใช้อินพุตสำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3D ที่สามารถพิมพ์สีได้เต็มรูปแบบ

การพิมพ์
การพิมพ์ เครื่องจะอ่านการออกแบบจากไฟล์ STL แต่ละชั้นจะมีของเหลว แป้ง กระดาษหรือแผ่นวัสดุเพื่อสร้างแบบจำลองจากชุดข้อมูล แต่ละชั้นจะสอดคล้องกับกลุ่มตัวอย่างเสมือนจริงจากรูปแบบ CAD จะร่วมกันหรือรวมโดยอัตโนมัติเพื่อสร้างรูปแบบสุดท้าย ประโยชน์ของเทคนิคนี้คือความสามารถในการสร้างรูปแบบหรือคุณลักษณะทางเรขาคณิต ความละเอียดของเครื่องพิมพ์อธิบายความหนาของแต่ละชั้นและความละเอียด x-y dpi (จุดต่อนิ้ว)หรือไมโครเมตร ความหนาของชั้นทั่วไปคือประมาณ100ไมโครเมตร(0.1 มม.) แม้ว่าบางเครื่องเช่น ชุด objet connex และชุด 3D system?projet สามารถพิมพ์ชั้นที่บาง 16 ไมโครเมตร แม้ว่า x-y มีความละเอียดเปรียบได้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ อนุภาค(จุด 3D) เส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 50-100 ไมโครเมตร การสร้างรูปแบบที่ทันสมัยสามารถใช้ได้ทุกที่ขึ้นอยู่กับการใช้ ขนาด ความซับซ้อนของรูปแบบ การเพิ่มระบบสามารถลดเวลาไม่กี่ชั่วโมง แม้ว่าความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับเครื่องที่ใช้และขนาดและจำนวนรูปแบบที่ผลิตพร้อมกัน เทคนิคดั้งเดิม เช่น การฉีดขึ้นรูปมีราคาแพงน้องกว่าการผลิต ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ในปริมาณที่สูง แต่การเพิ่มการผลิตสามารถทำให้เร็วขึ้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและราคาไม่แพงเมื่อปริมาณ การผลิตจำนวนชิ้นค่อนข้างเล็ก ให้นักออกแบบและทีมพัฒนาแนวคิดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนและรูปแบบแนวคิดการใช้เครื่องพิมพ์3Dขนาดใหญ่

ความสำเร็จ
แม้ว่าความละเอียดของเครื่องพิมพ์ที่ผลิตเพียงพอสำหรับการใช้งานมาก การพิมพ์รุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่าวัตถุเล็กน้อยต้องให้ความละเอียดมาตรฐานและจากนั้นถอดวัสดุที่มีการลดความละเอียดสูงกว่าสามารถให้ความแม่นยำมากขึ้น บางเทคนิค การผลิตสารเติมแต่งที่มีความสามารถในการใช้วัสดุที่หลากหลายในการสร้างชิ้นส่วน บางครั้งมีความสามารถในการพิมพ์หลายสีหรือผสมสีในเวลาเดียวกัน มีการใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนเมื่อมีการสร้างรองรับการถอดออกหรือละลายได้เมื่อเสร็จสิ้นการพิมพ์ และใช้สนับสนุนคุณสมบัติที่ยื่นในระหว่างการสร้าง

กระบวนการเสริม
กระบวนการพิมพ์3D ที่มีความแตกต่างกันได้รับการประดิษฐ์คิดค้นตั้งแต่ปี 1970 เดิมเครื่องพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ ราคาแพงและสูง มีความจำกัดในการผลิต จำนวนกระบวนการเสริมที่มีตอนนี้ มีความแตกต่างในแต่ละชั้นที่การสร้างชิ้นส่วนและวัสดุที่นำมาใช้ วิธีหลอมละลายหรือในชั้นการผลิตทำให้วัสดุมีผิวอ่อนนุ่ม ตัวอย่างเช่น การขึ้นรูปชิ้นงานโดยการยิงแสงเลเซอร์(SLS) และขึ้นรูปชิ้นงานโดยการหลอมละลาย(FDM) รักษาวัสดุของเหลวโดยใช้เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน เช่น การขึ้นรูปขึ้นรูปชิ้นงานโดยการยิงเลเซอร์ไปบนของเหลว (SLS) การตัดแผ่น laminatedด้วยเลเซอร์(LOM) ชั้นบางๆที่ถูกตัดเพื่อรูปร่างและเข้าด้วยกัน แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียของตัวเองและบางบริษัทจึงเสนอทางเลือกวัสดุระหว่างแป้งกับพอลิเมอร์สำหรับการสร้างวัตถุ บางบริษัทใช้มาตรฐานธุรกิจกระดาษปิดชั้นวางสร้างวัสดุในการผลิตต้นแบบที่คงทน ที่ต้องคำนึงในการเลือกเครื่องจักรโดยทั่วไปคือความเร็ว ค่าใช้จ่ายเครื่องพิมพ์3D ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ต้นแบบและค่าใช้จ่ายวัสดุ ประสิทธิภาพของสี

ผลกระทบของ 3D Printing
นวัตกรรมการพิมพ์สามมิติจะช่วยให้คนเราเข้าถึงงานที่มี ‘คุณลักษณะ’ ของความเป็นหัตถกรรมได้ง่ายขึ้น มิได้จำกัดอยู่เฉพาะคนเพียงบางกลุ่ม ทำให้คนได้มีโอกาสได้เสพย์และชื่นชมผลงานที่เต็มไปด้วยศิลปะและจินตนาการ มากกว่าจะถูกกำกับด้วยความจำกัดของเครื่องจักรที่ผลิตมันขึ้นมา แน่นอนว่า ‘คุณค่า’ของงานหัตถกรรมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อาจจะไม่สอดคล้องกันกับ ‘คุณลักษณะ’ของงาน หัตถกรรมที่กล่าวถึง  คำถามที่ว่า  ‘คุณค่าของการสร้างด้วยเครื่องกับสร้างด้วยคนนั้นต่างกันหรือไม่’  ‘นวัตกรรมการพิมพ์สามมิติจะผลักช่างฝีมือให้กระเด็นออกไป หรือจะผลักดันให้งานหัตถกรรมที่ยังยืนกราน เทคนิควิธีของการทำงานฝีมือขั้นสูงยิ่งมีมูลค่าสูงมากขึ้น ‘ คงเป็นประเด็นที่นักออกแบบ และช่างฝีมือรวมทั้ง ผู้บริโภคเองต้องขบคิด หาคำอธิบาย และหาส่วนผสมที่ลงตัวในแบบของตัวเองเพื่อพัฒนาแนวคิดสู่โอกาสทางธุรกิจและการพัฒนาสร้างสรรค์งานต่อไป

ตัวอย่างของ 3D Printing


ที่มา:http://www.print3dd.com/what-is-3d-printer-how-many-type/#
        http://www.maximumdev.com/Knowledge/Technology/3d-printing.html


นางสาว จณิสตา จิตอารี รหัสนักศึกษา 571611033 คณะเศรษฐศาสตร์